วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

หลักธรรมสำหรับผู้ประกอบอาชีพคอมพิวเตอร์

ความหมายของการพัฒนาจริยธรรม
คำว่า “ การพัฒนา ” หมายถึง การสร้าง การทำให้ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น หรือการทำให้เป็นไปตามจุดหมายที่กำหนดคำว่า “ จริยธรรม” หมายถึง การแสดงออกทางการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและอยู่ในกรอบของศีลธรรม ดังนั้นรวมความแล้ว “การพัฒนาจริยธรรม” จึงมีความหมายว่า การแสดงออกทางการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่ได้รับการทำให้ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น เพื่อให้เกิดการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและอยู่ในกรอบของศีลธรรม อันเป็นไปตามจุดหมายที่กำหนดไว้

จริยธรรมในการประกอบอาชีพคอมพิวเตอร์
เนื่องจากในช่วงปี ค.ศ. 1960 หลายองค์กรได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการแสดงออกของพฤติกรรมทางจริยธรรมของกลุ่มนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ แต่ในช่วงนั้นยังไม่มีไม่มี กฎหมายทางคอมพิวเตอร์ จึงยังไม่มีการบังคับว่าจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพหรือจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมวิชาชีพ มีแต่การกำหนดแนวทางด้านจริยธรรมของแต่ละองค์กรวิชาชีพ ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จึงรวมตัวกันกำหนดแนวทางด้านจริยธรรมขึ้นเพื่อใช้ร่วมกัน โดยมีองค์กรใหญ่ ๆ อยู่ 5 องค์กร ดังนี้ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2544 : 37-38)
• DPMA (The Data Processing Management Association) เป็นองค์กรที่จัดการและรับผิดชอบด้านสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ กำหนดจริยธรรมและมาตรฐานในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ • ACM (The Association for Computing Machinery) เป็นสมาคมทางการศึกษาและศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์และพัฒนากระบวนการทางระบบสารสนเทศในฐานะที่เป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง • ICCP (The Institute for Certification of Computer Professional) เป็นองค์ที่สนับสนุนให้ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพได้มีโอกาสทดสอบความรู้และความเป็นนักวิชาชีพ และมีการออกใบประกาศวิชาชีพให้ด้วย • CIPS (The Canadian Information Processing Society) เป็นสมาคมวิชาชีพคอมพิวเตอร์ที่ให้การสนับสนุนความเป็นนักวิชาชีพในกลุ่มของผู้ทำงานระบบสารสนเทศ ผู้ที่จะได้รับใบประกาศวิชาชีพของสมาคมจะต้องมีคุณสมบัติและมีประสบการณ์ตามมาตรฐานที่กำหนด • BCS (The British Computer Society) เป็นสมาคมวิชาชีพสำหรับผู้ทำงานทางด้านคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์และการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ บทบาทที่สำคัญของสมาคม คือ กำหนดมาตรฐานสมรรถนะทางวิชาชีพ และจริยธรรมในการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครอง

จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์
1. จะต้องมุ่งม่นมีความรับผิดชอบต่อการขายสินค้าและบริการส่วนรวม
2. มีความพร้อมที่จะรับใช้สังคมด้วยความศรัทธา และจริงใจ
3. รักษาผลประโยชน์ของสังคมร่วมอย่างจริงใจ ซื่อสัตย์ต่อสังคม ต่อผู้บริโภค
4. ไม่อำพรางข้อเท็จจริง หรือความเป็นจริงในเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการ
5. ไม่มอมเมาเผยแพร่สิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคมส่วนรวม
6. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ แบบแผน วินัยของสังคมเพื่อก่อไห้เกิดระเบียบที่ดี
7. รับใช้สังคมตามความรู้ความสามารถ เช่น เสียภาษีอากรอย่างถูกต้อง ร่วมรณรงค์ต่อต้านการละเมิดกฎหมาย
ปัญหาทางจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
สาเหตุของปัญหาหลัก ๆ ของเรื่องน่าจะมาทั้งตัวนักคอมพิวเตอร์ และผู้ใช้บริการเครือข่ายต่าง ๆ ขาดจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเกิดจากความไม่ตั้งใจ ขาดความรับผิดชอบที่ดี หรืออาจต้องการทดลองความรู้ ทดสอบอะไรบางอย่างก็เป็นได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงส่งผลกระทบถึงหลายฝ่าย รวมทั้งภาพรวมของนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง

สาเหตุที่ต้องพัฒนาจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และจากความแตกต่างกันระหว่างบุคคลในสังคมซึ่งมีหลายระดับ หลากหลายอาชีพ ดังนั้นการละเมิดจริยธรรมจึงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ และบ่อยครั้งที่สร้างปัญหาให้กับสังคมในปัจจุบัน มีตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อย หรือเป็นเรื่องที่น่ารำคาญ จนถึงปัญหาที่เป็นเรื่องราวใหญ่โตลงข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ สาเหตุก็เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ นักคอมพิวเตอร์ ผู้งานใช้คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ไม่ค่อยคำนึงถึงหลักจริยธรรม การขาดจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม จึงทำให้เกิดปัญหาอย่างที่พบเห็นกันในปัจจุบัน และนับวันจะทวีความรุน แรงมากขึ้น สรุปแล้วต้นเหตุทั้งหมดของปัญหาก็เกิดมาจากการขาดจริยธรรมในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั่นเอง
สรุป
นักคอมพิวเตอร์คือ ผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และนำความรู้ที่ได้ศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินอาชีพตลองจนพัฒนาความรู้ของตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอๆ บทบาทของนักคอมพิวเตอร์มีทั้งบทบาททั่วไป และบทบาทที่คาดหวังโดยสังคมและองค์กรวิชาชีพว่า โดยทั่วไปแล้วนักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมกฎหมาย หรือข้อตกลงต่างๆ นักคอมพิวเตอร์จะต้องมีความรับผิดชอบหน้าที่ด้วยความเพียรพยายาม เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย นอกจากมีบุคลิกภาพที่ดีแล้วยังต้องมีค่านิยมที่พึงประสงค์ และคุณสมบัติของความเป็นนักคอมพิวเตอร์ที่ดีและครบถ้วนสมบูรณ์อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น